เมนู

สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับถ้อยคำจำไว้เป็นผลเป็นคุณแก่กุลบุตรอันจะเกิดข้างหน้าในกาลบัดนี้
นิพพานนัสส ปัฏฐานปัญหา คำรบ 7 จบเพียงเท่านี้

อนุมานปัญหา ที่ 8(1)


อถ โข

ในกาลนั้นแท้จริง โส มิลินฺโท ราชา อันว่าสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์
มีพระราชโองการตรัสปราศรัยถ้อยคำเป็นสาราณียกถา กับด้วยพระนาคเสนผู้จอมปราชญ์แล้ว
มีพระหฤทัยใครจะทรงทราบสิ่งที่ยังไม่ทรงทราบและเพื่อทรงจำไว้กระทำให้แจ้ง เห็นแสงสว่าง
แห่งญาณทำลายอวิชชา ยังปัญญาให้เกิดขึ้น ก้าวล่วงกระแสแห่งสงสารและตัดกระแสแห่ง
ตัณหา ดื่มซึ่งน้ำอมฤตรสคือพระนิพพาน จึงทรงตั้งพระฉันทอัธยาศัยและพระวายามปัญญา
อุตสาหะตั้งสติสัมปชัญญะให้มั่งคงเป็นอันดีแล้ว ตรัสถามพระยาคเสนต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา พุทฺโธ อันว่าองค์สมเด็จพระพุทธเจ้านั้น ตยา ทิฏฺโฐ อันพระผู้เป็น
เจ้าได้เห็นหรือประการใด
พระนาคเสนวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อาตมาจะได้ทัศนาการ
เห็นมามิได้

(1) คัมภีร์มิลินทปัญหานี้ ตอนอารัมภกถาแบ่งปัญหาไว้เป็นประเภทใหญ่ 5 ประเภท คือประเภทที่ 1
มิลินทปัญหา ประเภทที่ 2 เมณฑกปัญหา ประเภทที่ 3 อนุมานปัญหา ประเภทที่ 4 ลักขณปัญหา ประเภทที่
5 อุปมากถาปัญหา แต่มาในตอนที่แบ่งปัญหาประเภทใหญ่ออกเป็นวรรณคดีเป็นเรื่อง ประเภทที่ 3 ที่ 4
หายไป ชื่ออนุมานปัญหายังปรากฏอยู่ แต่เอาบวกเข้าเป็นเรื่องที่ 8 ในวรรคที่ 9 ของเมณฑกปัญหา สังเกต
ดูรูปความ เห็นว่าเป็นอนุมานปัญหาประเภทใหญ่นั้นเอง แต่หากไม่ได้แบ่งเป็นวรรคเป็นเรื่อง ผู้รวมเรื่องใน
ชั้นเดิมจึงจัดเอาเป็นปัญหาหนึ่ง รวมเข้าใจเสียในเมณฑกปัญหา ที่ถูกคงเป็นปัญหาประเภทใหญ่ที่ 3 นั้นเอง
จึงแยกออกพิมพ์เป็นประเภท 1 ต่างหาก คงแต่คำว่าวรรคและเรียงจำนวนเลขไว้ตามบาลี บอกไว้สำหรับ
พิจารณาเท่านั้น ส่วนปัญหาประเภทใหญ่นั้นเอง แต่หากไม่ได้แบ่งเป็นวรรคเป็นเรื่อง ผู้รวมเรื่องใน
ชั้นเดิมจึงจัดเอาเป็นปัญหาหนึ่ง รวมเข้าเสียในเมณฑกปัญหา ที่ถูกคงเป็นปัญหาประเภทใหญ่ที่ 3 นั้นเอง
จึงแยกออกพิมพ์เป็นประเภท 1 ต่างหาก คงแต่คำว่าวรรคและเรียงจำนวนเลขที่ไว้ตามบาลี บอกไว้สำหรับ
พิจารณาเท่านั้น ส่วนปัญหาประเภทใหญ่ที่ 4 คือลักขณปัญหานั้นหายสูญชื่อไปทีเดียว แต่เมื่อตรวจดู
รูปความ เห็นว่าธุตังคปัญหาเรื่องที่ 9 ต่อจากอนุมานปัญหานี้แหละเป็นลักขณปัญหา เพราะกล่าวลักษณะ
ต่าง ๆ มาก แต่เนื้อเรื่องกล่าวด้วยธุดงค์ ผู้ให้ชื่อจึงเขียนลงไว้ว่าธุตังคปัญหา ได้พิมพ์แยกไว้เป็นแผนกหนึ่ง
เหมือนกัน จะผิดถูกอย่างไรแล้วแต่นักปราชญ์จะวินิจฉัย